ความรู้เกี่ยวกับเข็ม ?

          โครงสร้างของเข็ม เข็มประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 5 ส่วน ดังนี้ คือ ตัวเข็มที่นิยมทำด้วยลวดแสตนเลส มีส่วนที่แหลมตรงหลาย เรียกกว่า ปลายเข็ม อีกปลายหนึ่งจะพันด้วยลวดทองแดงหรือลวดอบูมิเนียมเป็นเกลียว เรียกว่า ด้ามเข็ม ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้นิ้วจับถือ ตรงปลายสุดของด้ามเข็มจะมีลักษณะม้วนขดเป็นวง เพื่อมิให้แทงหรือเกี่ยวถูกนิ้วมือ ในขณะใช้ เรียกว่า หางเข็ม ส่วนของเข็มที่ติดต่อระหว่างเข็ม และด้ามเข็มนั้น เรียกว่า โคนเข็ม ดังรูป

Read more: ความรู้เกี่ยวกับเข็ม ?

ขั้นตอนการรักษา

เมื่อตัดสินใจรักษาโรคด้วยการฝังเข็มแล้วจะต้องพบกับอะไรบ้าง?

              ผู้ป่วยบางคนนึกในใจว่า คงจะถูกหมอเอาเข็มฝังเข้าไปไว้ในตัวเหมือนกับพิธีไสยศาสตร์ที่เสกตะปูใส่ในท้อง บางคคนอาจาคิดว่า คงจะเอาเข็มฝังไว้ใต้ผิวหนังที่แขน เหมือนกับการฝังยาฮอร์โมนคุมกำเนิดของผู้หญิง?

               นี่เป็นตัวอย่างของความเข้าใจผิดของผู้ป่วยที่มีต่อการฝังเข็ม

               เวชกรรมฝังเข็มเป็นศาสตร์สำหรับรักษาโรคอย่างหนึ่ง จึงต้องมีวิธีการที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ การรักษาจึงจะได้ผล ผู้ป่วยจึงจะหายจากโรค ถ้าหากขั้นตอนการรักษาไม่ครบหรือไม่เป็นไปตามลำดับ ผลการรักษาย่อมจะดีหรือกระทั่งอาจเกิดอันตรายขึ้นได้

               กล่าวสำหรับผู้ป่วยแล้ว การที่ได้ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการรักษาล่วงหน้า ย่อมจะช่วยลดความกังวลใจหรือความตื่นเต้นหวาดกลัวลงไปได้ ถ้าหากผู้ป่วยสามารถประสานให้ความร่วมมือกับแพทย์ได้ดี กระบวนการรักษาก็จะสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น การรักษาย่อมจะปรากฏผลออกมาในทางที่ดีเสมอ

Read more: ขั้นตอนการรักษา

เตรียมตัวก่อนไปฝังเข็ม ?

กระบวนการรักษาโรคนั้น เป็นกระบวนการของสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ซึ่งความสัมพันธ์นี้ไม่ควรเป็นลักษณะของ “การสั่งทำ” แพทย์และผู้ปวยควรสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะของ “ความร่วมมือ” กันมากกว่า ผลการรักษาของโรคหนึ่ง ๆ จะดีหรือไม่อย่างไรนั้น จึงขึ้นอยู่กับว่า แพทย์และผู้ป่วยจะสามารถประสานร่วมมือกันได้ดีเพียงใดอีกด้วย

           เวชกรรมฝังเข็มกล่าวสำหรับคนไทยเราแล้ว ยังนับเป็นเรื่องแปลกใหม่  ดังนั้นเมื่อจะไปรักษาย่อมมีความกังวลใจและความหวาดกลัวเกิดขึ้นไม่รู้ว่าควรจะเตรียมปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง? ทำให้การประสานร่วมมือในการรักษาไม่ราบรื่น ผลการรักษาจึงอาจไม่ดีเท่าที่ควร

Read more: เตรียมตัวก่อนไปฝังเข็ม ?

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?

           การฝังเข็มไม่เพียงแต่ จะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายก็จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่งร่างกายได้รับสารอาหารและขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดีกว่า

           การฝังเข็มยังสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นเพื่อปรับการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดฝังเข็มได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

           เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด "เน่ยกวาน" บนเส้นลมปราณเยื่อหัวหัวใจที่อยู่บริเวณข้อมือ สามารถปรับการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ สามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัวได้

Read more: การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?

วิวัฒนาการตำราการแพทย์แผนโบราณ

   ในสมัยก่อน ชาวจีน อาศัยวิชาการแพทย์แผนโบราณเป็นระบบการแพทย์หลักของสังคม วิธีการรักษาโรคที่เป็นหลัก ได้แก่ การฝังเข็มและการใช้ยาสมุนไพร

          ในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจริงที่เก่าแก่ เมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน มีการกล่าวบรรยายึถงโรคชนิดต่าง ๆ 100 กว่าโรค แต่ระบุให้ใช้ยารักษาเพียง 13 โรคเท่านั้นที่เหลือทั้งหมดนั้นแนะนำให้ใช้การฝังเข็มรักษาทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่า การฝังเข็มมีประโยชน์ในการรักษากว้างมากกว่าการใช้ยาสมุนไพรเสียอีก

          ดังนั้น ตามแนวการวิเคราะห์โรคของการแพทย์แผนโบราณจีน คำถามที่ว่า "การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง "จึงไม่ใช่เป็นประเด็นที่ต้องถามเพราะโรคทุกอย่างต้องใช้การฝังเข็มรักษาทั้งสิ้น ยกเว้นแต่มีข้อห้ามเท่านั้น

Read more: วิวัฒนาการตำราการแพทย์แผนโบราณ

Page 1 of 4